การใช้อุปกรณ์ดิจิทัลอย่าง
เหมาะสมสำหรับเด็ก
ช่วงเวลาปัจจุบันที่ผ่านมาทำให้เด็กหลายคนจำเป็นต้องใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากขึ้น เด็กบางคนใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
การที่เด็กจำเป็นจ้องอุปกรณ์ดิจิทัลนานๆเพื่อการเรียน และการพักผ่อนในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำให้ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตาของลูก
เราได้ตระหนักถึงความกังวลของผู้ปกครองที่มีต้อลูกๆ เราจึงให้ผู้เชี่ยวชาญของเราอธิบายถึงผลกระทบต่อดวงตาที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ดิจิทัล และให้คำแนะนำในการดูแลสายตาลูกน้อยของคุณ
เวลาที่เด็กใช้ไปกับการอุปกรณ์ดิจิทัล
จากการการสำรวจพบว่าเด็กในช่วงอายุ 5-16 ปี ใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลเฉลี่ย 5-6 ชั่วโมงต่อวัน โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเล่นเกม, ดูทีวี และการใช้อินเตอร์เนต ยิ่งไปกว่านั้นเราพบว่าในช่วงวิกฤตโรคระบาด อัตราการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลในเด็กสูงขึ้นถึง 130% โดยยังไม่รวมการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลจากการการเรียนออนไลน์อีกด้วย
จากงานวิจัยในแคนนาดาพบว่า การที่เด็กไม่สามารถออกจากบ้านได้ในช่วงโรคระบาดทำให้เด็กใช้เวลากับหน้าจอต่างๆมากขึ้นถึง 5 ชั่วโมงต่อวัน ยังไม่รวมการเรียนออนไลน์
อุปกรณ์ดิจิทัลส่งผลกับตาเด็กอย่างไร?
อุปกรณ์ดิจิทัลไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์, โน๊ตบุค หรือแทบเล็ท ล้วนเป็นอุปกรณ์การเรียนชิ้นสำคัญ ทำให้เด็กสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ไม่มีขีดจำกัด แต่การใช้อุปกรณ์ดิจิทัลนานเกินไปโดยไม่พักสายตา หรือใช้ในท่าที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบต่อต่าเด็กได้กลายอย่าง เช่น ตาล้า(eye strain), แสบตา(soreness) และอาจทำให้เกิดสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น (myopia)
ตาล้าจากอุปกรณ์ดิจิทัล (Digital eye strain)
อาการตาล้าจากอุปกรณ์ดิจิทัลเป็นอาการที่เจอได้บ่อยหลังจากใช้อุปกรณ์ดิจิทัลต่อเนื่องเป็นเวลานาน เมื่อลูกของคุณใช้เวลากับหน้าจอนานเกินไป และการมองจอที่ระยะใกล้เกินไป จะส่งผลให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า แสงจ้าจากจออุกรณ์ดิจิทัลต่างๆก็เป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นให้เด็กตาล้าเร็วขึ้น อาการบ่งบิกว่าลูกคุณใช้สายตามากเกินไปคือ ไม่สบายตา, ปวดหัว, ล้าตา, โฟกัสภาพยาก, ตาแห้ง, มองไม่ชัด และแพ้แสง
สายตาสั้น (Myopia/Short-sightedness)
Myopia, หรือสายตาสั้น หมายถึงการที่คนคนหนึ่งไม่สามารถมองไกลได้ชัดเจน แต่มองระยะใกล้ได้ชัดเจน ปัจจุบันเรายังหาสาเหตุของสายตาที่ชัดเจนไม่ได้ แต่จากงานวิจัยพบหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดสายตาสั้น
จากการศึกษาเราพบว่าสายตาสั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ และเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้สายตา ตัวอย่างเช่น เด็กที่ใช้เวลาไปกับการอ่านหนังสือ หรืออุปกรณ์ดิจิทัลเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้เรายังพบว่าเด็กในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีสายตาสั้นมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนเนื่องจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลมากขึ้น และเด็กใช้เวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้งลดลง ทำให้เราเชื่อว่าการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลต่อเนื่องเป็นเวลานาน และใช้เวลากลางแจ้งน้อยลงเพิ่มความเสี่ยงการเกิดสายตาสั้นในเด็กมากขึ้น เด็กจำนวนมากมีปัญหาการมองกระดานเมื่อกลับไปเรียนหลังปิดเทอม
แสงสีน้ำเงินมีผลกระทบต่อตาเด็กหรือไม่?
ในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้มีการพูดถึงอันตรายของแสงสีน้ำเงินต่อดวงตาเป็นอย่างมาก ผลกระทบของแสงสีน้ำเงินต่อตาเด็กก็ไม่ต่างกัน แสงสีน้ำเงินจากจอต่างๆที่เด็กใช้ส่งผลลบต่อตาเด็กไม่ว่าจะเป็นอาการไม่สบายตา, สายตาสั้น หรือสายตายาว
References
-
Koh, Elizabeth, and Fitch, Asa, ‘A Coronavirus Surges in Screen Time Boosts Chip Makers’, The Wall Street Journal. (2020). [online] Available at: https://www.wsj.com/articles/a-coronavirus-surge-in-screen-time-boosts-chip-makers-11588066203. [accessed 28/8/20]
-
Algar, Selim, ‘Screen Time for Kids Explodes during Coronavirus crisis, study says’, New York Post. (2020). [online] Available at: https://nypost.com/2020/04/23/screen-time-for-kids-explodes-during-coronavirus-crisis-study/. [accessed 28/8/20]
-
NHS Greater Glasgow and Clyde (2021), Screen Time [online]. Available at: https://www.nhsggc.org.uk/about-us/professional-support-sites/screen-time/#:~:text=In%20the%20UK%20children%20aged,of%20screen%20time%20per%20day [accessed 13/5/21]
-
Qustodio (2020) Annual report on children’s digital habits [online]. Available at: https://qweb.cdn.prismic.io/qweb/e59c2e0f-ef4f-4598-b330-10c430e2ec71_Qustodio+2020+Annual+Report+on+Children%27s+Digital+Habits.pdf [accessed feb 2021]
-
Moore et al. (2020), “Impact of the COVID-19 virus outbreak on movement and play behaviours ofCanadian children and youth: a national survey”, in International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity (2020) 17:85. Available at: https://doi.org/10.1186/s12966-020-00987-8 [accessed 13/5/21]
-
NHS, ‘What causes short-sightedness?’, Overview: Short-sightedness (myopia) (2018). [online] Available at: https://www.nhs.uk/conditions/short-sightedness/#:~:text=Short%2Dsightedness%2C%20or%20myopia%2C,and%20is%20becoming%20more%20common. [accessed 28/8/20]
-
McCullough, S., O’Donoghue, L., and Saunders, K., (2016), Six Year Refractive Change among While Children and Young Adults: Evidence for Significant Increase in Myopia among White UK Children. [online]. Available at: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0146332. [accessed 28/8/20]